ทำไม Xiaomi ถึงเสิร์ฟข้าวต้มทุกงานเฉลิมฉลอง

ทำไม Xiaomi ถึงเสิร์ฟข้าวต้มทุกงานเฉลิมฉลอง
January 20, 2020 - by Branding, Creative

ถึงวันนี้คงแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Xiaomi แบรนด์สมาร์ทโฟนหมายเลข 4 ของโลกจากประเทศจีน

ความเป็นจริง Xiaomi เริ่มต้นธุรกิจจากการเป็นผู้พัฒนารอมให้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ในนาม MIUI (Me You I) ในปี 2010 ก่อนที่จะขายธุรกิจมาทำสมาร์ทโฟนของตัวเองในปี 2011ย้อนกลับไปในปี 2010 Xiaomi เริ่มต้นธุรกิจจากเพื่อนสนิท 8 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา คือ Lei Jun, Lin Bin, Li Wanqiang, Hong Feng, Liu De, Wang Chuan, Jiangji Wong, Guangping Zhou

จุดเด่นของ Xiaomi ที่ผู้บริโภคทุกคนยอมรับก็คือ ดีไซน์ที่สวยงาม ทันสมัย ไม่แพ้กับแบรนด์พรีเมียมที่วางขายในท้องตลาด แต่มีราคาขายที่สมเหตุสมผล จนค่อยๆเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ก่อนที่ Xiaomi จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศในเวลาต่อมา

หลายประเทศที่ Xiaomi ไปทำตลาดก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ในประเทศอีนเดีย Xiaomi สามารถทำยอดขายแซงเจ้าตลาดเดิมอย่าง Samsung ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี รายงานล่าสุดจาก Canalys ระบุว่าส่วนแบ่งการตลาดในไตรมาสแรกของปี 2018 Xiaomi ส่วนแบ่งการตลาดในอินเดียสูงถึง 31% จากยอดขายที่โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 155% คิดเป็นจำนวนทั้งหมด 9 ล้านเครื่อง

ปีที่ผ่านมา Xiaomi สามารถทำยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกอย่างถล่มทลายจนสามารถแซง OPPO ขึ้นมาเป็น เบอร์ 4 ในตลาดสมาณืทโฟนโลกได้แล้ว ทุกวันนี้ Xiaomi ได้ขยายธุรกิจออกไปไกลกว่าสมาร์ทโฟนมากมาย โดยสินค้าภายใต้หลังคาของ ที่ Xiaomi นั้นม่ตั้งแต่ Smartphones, Tablet computers, Smart home devices, Laptops, Smart TV, Fashion & Accessory ฯลฯ ภายใต้แบรนด์ลูกมากมาย อาทิ Redmi, Xiaoyi, Roborock, Roidmi, Viomi, VH, Huami, Mijia, Aqara, Yeelight, Blackshark, Poco, Youpin

ปี 2018 Xiaomi มีรายได้รวมมากกว่า 21.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีพนักงานทั่วโลกรวมแล้วกว่า 15,000 คน แม้ว่า Xiaomi จะยิ่งใหญ่เพียงใดในปัจจุบัน แต่ Xiaomi ก็ยังคงวัฒนธรรมอย่างหนึ่งไว้ในทุกงานเฉลิมฉลองของบริษัท นั่นก็คือ การเสิร์ฟข้าวต้มที่ทำจากข้าวฟ่าง (Millet Congee) ความเป็นจริงชื่อของ Xiaomi (小米) ก็แปลตรงตัวว่า “ลูกเดือย” หรือ “ข้าวฟ่าง” อยู่แล้ว ที่มาที่ไปของวัฒนธรรมการเฉลิมฉลองหรือแสดงความยินดีนี้ มาจากในวันเริ่มต้นการทำงานวันแรก บิดาของ Li Wanqiang หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเสียวหมี่ได้ทำข้าวต้มที่ทำจากข้าวฟ่างให้กับผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 8 คน รวมพนักงานทั้งหมดเป็น 14 คน ได้รับประทานในวันแรกของการเริ่มต้นทำงาน ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของ Xiaomi ในการเสิร์ฟข้าวต้มข้าวฟ่างเมนูพิเศษนี้ในโอกาสเฉลิมฉลองความสำเร็จและแสดงความขอบคุณจากใจในเกือบทุกสำนักงานทั่วโลกที่ Xiaomi ไปเปิดกิจการ ในวันแถลงข่าวและเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชนในประเทศไทย Xiaomi ก็เสิร์ฟอาหารเมนูพิเศษอย่าง ข้าวต้มข้าวฟ่างเช่นกัน

จอห์น เฉิน ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียวหมี่ เทคโนโลยี กล่าววว่า การเสิร์ฟข้าวต้มข้าวฟ่างนี้เป็นธรรมเนียมที่ Xiaomi ทำกันมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนกลายเป็นประเพณีของบริษัทไปแล้ว และ Xiaomi ก็มีการส่งมอบธรรมเนียมปฎิบัตินี้กับคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ในหลายครั้ง

การสืบสานธรรมเนียมปฎิบัติที่อบอุ่น เรียบง่าย แต่สามารถให้กำลังใจกันเองเล็กๆ น้อยๆ ในวันที่แทบจะยังไม่มีอะไรเช่นนี้บางครั้งการส่งต่อความทรงจำเหล่านี้ ก็เป็นอีกวิธีการสร้างสปิริตองค์กรที่ได้ผลจริงๆ…

เราจะเห็นว่า การรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่วางไว้ได้ ทำให้แบรนด์ยิ่งน่านับถือ

Reference

http://www.brandage.com/article/10039/Lei-Jun

Share this post? Facebook Twitter Google+ Linkedin

Add your Comment